วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระไตรปิฎก

สาระสำคัญ
           พระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ที่บรรจุหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาทั้งหมดไว้ สามารถพิจารณาได้หลายแง่มุมตามลักษณะเนื้อหา การพิจารณาพระไตรปิฎกในแง่กถา 3 และศาสน์ 3 จะทำให้เข้าใจพระไตรปิฎกง่ายขึ้นในพระไตรปิฎกมีข้อความน่ารู้จำนวนมาก การศึกษาข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก จะช่วยให้เข้าใจพระไตรปิฎกยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกสาระสำคัญละอธิบายความสัมพันธ์ของพระไตรปิฎกในแง่กถา 3 และศาสน์ 3 ได้
2. วิเคราะห์สาระสำคัญของข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎกที่กำหนดให้ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

         พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาไว้ทั้งหมด แบ่งเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ๆ ตามลักษณะเนื้อหาได้ 3 หมวด หรือ 3 คัมภีร์ ได้แก่
1. พระวินัยปิฎก หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระวินัย เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมคำสั่งสอนว่าด้วย เรื่องศีล หรือ ข้อปฏิบัติ ของพระภิกษุและพระภิกษุณี พร้อมทั้งบทลงโทษหนักบ้าง เบาบ้าง ตามความผิดที่ได้ล่วงละเมิดศีลหรือข้อปฏิบัตินั้น ๆ เรื่องพิธีและระเบียบปฏิบัติ ของพระภิกษุในพิธีนั้น และเรื่องทั่ว ๆ ไป ไม่เกี่ยวกับศีลหรือศาสนพิธีใด ๆ เช่น ประวัติพระพุทธศาสนา
การสังคยานาครั้งที่ และครั้งที่ 2 เป็นต้น
         พระวินัยปิฎก ได้แก่พระไตรปิฎกจำนวน 8 เล่ม ตั้งแต่ เล่ม 1 ถึงเล่ม 8
2. พระสุตตันตปิฎก หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระสูตร เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมคำสั่งสอนว่าด้วย เรื่องพระธรรมเทศนาและคำบรรยายธรรมต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระภิกษุ พระภิกษุณี บุคคล หรือกลุ่มคน ในโอกาสและสถานที่ต่าง ๆ โดยทรงชี้นำให้รู้เห็นข้อเท็จจริงแห่งชีวิต และชี้นำแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังว่าด้วยเรื่องหลักการของพระพุทธศาสนา เรื่องราวของพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก หลักคำสอนของพระเถระ พระเถรี เทวดา เป็นต้น
         พระสุตตันตปิฎก ได้แก่ พระไตรปิฎกจำนวน 25 เล่ม ตั้งแต่เล่มที่ 9 ถึงเล่มที่ 33
3. พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระอภิธรรม เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมคำสั่งสอนว่าด้วยเรื่องสภาวธรรมหรือหลักธรรมที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับบุคคล สัตว์ หรือสถานที่ใด ๆ โดยทรงแสดงชี้นำให้รู้ให้เข้าใจในสภาวะที่แท้จริงของสรรพสิ่ง ได้แก่ สภาวะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ตัวอย่างเช่น บุคคลผู้มีความโกรธ ย่อมสามารถทำผิดโดยไม่ยั้งคิด ย่อมสามารถฆ่าได้แม้กระทั่งบิดามารดาหรือผู้มีพระคุณ ก็จะอธิบายว่า ลักษณะความโกรธคืออะไร ประกอบด้วย เจตสิก (คุณสมบัติของจิต) ที่เป็นฝ่ายชั่วอะไรบ้าง ความโกรธเมื่อจะเกิดขึ้นมีขั้นตอนการเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง วิธีจะให้ดับไปจะต้องทำอย่างไรบ้าง การอธิบายความโกรธในแง่หลักวิชา ไม่กล่าวถึงบุคคลและสถานที่อย่างนี้เป็นลักษณะของพระอภิธรรมปิฎก
         พระอภิธรรมปิฎก ได้แก่ พระไตรปิฎกจำนวน 12 เล่ม ตั้งแต่เล่มที่ 34 ถึงเล่มที่ 45


                                                    แผนผังพระไตรปิฎก

                                                         พระไตรปิฎก

                   พระวินัยปิฎก           พระสุตตันตปิฎก              พระอภิธรรมปิฎก
              1. มหาวิภังค์                1. ทีฆนิกาย                         1. ธัมมสังคณี
              2. ภิกขุณีวิภังค์            2. มัชฌิมนิกาย                    2. วิภังค์
              3. มหาวรรค                 3. สังยุตตนิกาย                   3. ธาตุกถา
              4. จุลวรรค                   4. อังคุตตรนิกาย                 4. ปุคคลบัญญัติ
              5. ปริวารวรรค              5. ขุททกนิกาย                     5. กถาวัตถุ
                                                                                              6. ยมก
                                                                                              7. ปัฏฐาน  
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระไตรปิฎกแต่ละปิฎกมีเนื้อหายาวมาก จึงมีการศึกษาและพิจารณาในแง่มุมต่าง ๆ กัน โดยยึดเอาตามลักษณะบางอย่าง เช่น ลักษณะการแสดงหรือการสั่งสอน (เทศนา) ลักษณะการศึกษา (สิกขา) เป็นต้น สำหรับการศึกษาพระไตรปิฎกในชั้นนี้นักเรียนจะได้ศึกษาในแง่ของการกล่าวหรือการอธิบาย (กถา) และในแง่ของการสอนหรือการ
สั่งสอน (ศาสน์)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น